๖. ขั้นตอนการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา
นำเสนอโดย พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล ป.ธ.๕,นธ.เอก,ศษ.บ.,MPA.(นิด้า) วัดท่าไทร ต.ท่าทองใหม่ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๒๙๐

 

            การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีวัด มีขั้นตอนและวิธีดำเนินการตามที่ได้กำหนดไว้ ตามข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ แห่งกฏกระทรวงว่าด้วย การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พ.ศ.๒๕๕๙ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๔ ตอนที่ ๑๒ ก วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๐ ออกตามความมในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และมาตรา ๓๒ ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ดังนี้

          ข้อ ๒๐ วัดใดได้สร้างขึ้นหรือได้ปฏิสังขรณ์จนเป็นหลักฐานถาวร และมีพระภิกษุพํานักอยู่ประจําไม่น้อยกว่าห้ารูปติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี หากประสงค์ จะขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา ให้เจ้าอาวาสแห่งวัดนั้ นรายงานการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาไปยังผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด

          เมื่อผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดได้รับรายงานการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาตามวรรคหนึ่ง ให้ ขอความเห็นจากเจ้าคณะตําบล เจ้าคณะอําเภอ นายอําเภอ และเจ้าคณะจังหวัดที่เกี่ยวข้อง แล้วเสนอรายงานพร้อมความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด

          ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาเห็นสมควรให้วัดใดขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาให้เสนอรายงานการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาพร้อมความเห็นไปยังเจ้าคณะภาค เจ้าคณะใหญ่ที่เกี่ยวข้อง และผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อพิจารณาตามลําดับ

          เมื่อเจ้าคณะภาค เจ้าคณะใหญ่ และผู้อํานวยการสํานักงานพระพุ ทธศาสนาแห่งชาติเห็นสมควรให้วัดใดขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา ให้ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเสนอรายงานการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาพร้อมความเห็นเพื่อกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชเพื่อทรงอนุมัติ แล้วเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนําความกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาต่อไป

          ระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่วัดที่สร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้ว

          ข้อ ๒๑ เมื่อพระราชทานวิสุงคามสีมาแก่วัดใดแล้ว ให้ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุ ทธศาสนาแห่งชาติรายงานให้มหาเถรสมาคมทราบ แล้วแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะใหญ่ทราบและให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งการประกาศการได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ให้ผู้ขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาและเจ้าคณะจังหวัดทราบ และให้นายอําเภอท้องที่ที่วัดนั้นตั้งอยู่ดําเนินการปักหมายเขตที่ ดินตามที่ได้พระราชทาน

 

เอกสารประกอบการพิจารณาการขอพระราชทานวิสุงคามสีมา

            ๑.สำเนาหนังสือตั้งวัด ในกรณีสร้างหลัง พ.ศ. ๒๔๘๖ หรือใบรับรองสภาพวัดในกรณีที่สร้างก่อน พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่กรมการศาสนาออกให้

            ๒.แผนที่บอกให้รู้ว่าวัดตั้งอยู่ที่ใด

            ๓.แผนผัง ที่ตั้งวัดและอาคารเสนาสนะในวัดให้ได้มาตราส่วนและรูปที่ดินจะต้องเหมือกันทุกรูป ที่ดินในเอกสารสิทธิ์ (พิมพ์เขียว)

            ๔.ภาพถ่ายอุโบสถ (ที่สร้างเสร็จแล้ว หรือกำลังก่อสร้าง) จำนวน ๔ ภาพ ด้านหน้า, ด้านหลัง ด้านซ้าย และ ด้านวา

            ๕.ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองท้องที่ จากตำบลและอำเภอใหม่ ขอให้แนบสำเนาเอกสารการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ประกอบด้วย

            ๖.สำเนาหนังสือสุทธิเจ้าอาวาสพร้อมเซ็นชื่อสำเนาถูกต้อง

            ๗.สำเนาคำสั่งแต่งตั้งเจ้าอาวาสพร้อมเซ็นชื่อสำเนาถูกต้อง

หมายเหตุ.- การจัดทำแบบรายงานขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา ขอให้จัดทำ ๔ ชุด ดังนี้
            ๑.สำเนาไว้ที่วัดเพื่อเป็นหลักฐาน จำนวน ๑ ชุด
            ๒.เก็บไว้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด เพื่อเป็นหลักฐาน จำนวน ๑ ชุด
            ๓.ถวายเจ้าคณะภาค เพื่อเป็นหลักฐาน จำนวน ๑ ชุด
            ๔.ส่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน ๑ ชุด

แนะนำ..

       >> โหลด แบบรายงานขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา (แบบของ สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ)

ที่มา.-กฏกระทรวงว่าด้วย การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พ.ศ.๒๕๕๙ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๔ ตอนที่ ๑๒ ก วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๐


*******************